วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หน้าปก


การทำยาหม่องสมุนไพรจากเผือกในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  



                     จัดทำโดย
1.นางสาวอัญญิกา เจริญปล้อง เลขที่20
   2.นางสาวครองขวัญ   รูปสูง เลขที่22
3.นางสาวชนัดดา ปานสุวรรณ เลขที่24
4.นางสาวลักขณา ธาดาสีห์ เลขที่29
5.นางสาวอัญธิกา อ่อนชนะ เลขที่34
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/6
เสนอ
อาจารย์สมชาย สุธีกุล
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา I30201การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ และรายวิชา I30202 การสื่อสารและนำเสนอ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3
อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
















คำนำ



คำนำ
การทำยาหม่องสมุนไพรจากเผือกในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย ได้จัดทำขึ้นโดยมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน   กลุ่มของพวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาสสาระของโครงงานของพวกเราจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษา หากเนื้อหาโครงงานของพวกเรามีบางส่วนหรือตอนใดผิดพลาดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ
วันที่ 26 มกราคม 2556


สารบัญ


สารบัญ

 เนื้อหา หน้า
คำนำ    ก
สารบัญ            ข
บทที่ 1 บทนำ    1
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง            3
บทที่ 3 วิธีการศึกษา            7
บทที่ 4 ผลการศึกษา            9
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา   10
เอกสารอ้างอิง                   11

ภาคผนวก

ภาคผนวก
























บรรณานุกรม

บรรณานุกรม


-http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/ book.php?book=5&chap=5&page=t5-5-infodetail04.html  -http://healthdeena.blogspot.com/2010/01/blog-post.html
-http://www.pickwall.com/?p=42
-http://www.gotoknow.org/posts/80206 
-http://www.yesspathailand.com/
-http://www.yesspathailand.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%
E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B2/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%99.html





บทที่ 1


บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ

เผือกเผือกเป็นพืชมีอายุอยู่ได้หลายฤดูลำต้นใต้ดินเจริญเติบโตกลายเป็นหัว และมีหัวเล็กๆ ล้อมรอบหัวมีขนาดและรูปร่างต่างกันออกไป ปกติ ต้นสูง ๐.๔-๒ เมตร ใบใหญ่เป็นรูปหัวใจ มีขนาดสีต่างๆ กัน ประโยชน์ : หัวเผือกทานเพื่อบำรุงร่างกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคเรื้อนกวาง เผือกก็สามารถช่วยได้ยังและช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย เส้นเอ็น กระดูก และทาแก้แมลงกัด ต่อยใบและยอดเผือกใช้เป็นผักได้มีวิตามินเอและวิตามินซีสูงส่วนใหญ่ใช้เป็นอาหารที่สำคัญของประชากรในหลายประเทศและใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะลำไส้(ที่มา:http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/ book.php?book=5&chap=5&page=t5-5-infodetail04.htmlและ  http://healthdeena.blogspot.com/2010/01/blog-post.html)
เผือกเป็นอาหารที่บำรุงสุขภาพและให้พลังงานไปพร้อม ๆ กันมีรสหวานอมเผ็ดนิดหน่อยเหมาะกับเด็กและผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาด้านการย่อยอาหารเผือกมีแคลอรีสูงไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักส่วนที่ใช้ในการรับประทานคือส่วน หัว ของเผือกที่อยู่ใต้ดิน เผือกจะมีสารอาหารคือสารอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต โปรตีน โพแทสเซียม วิตามินบี 1 วิตามินซีและที่สำคัญมีธาตุเหล็กสูงและยังมีฟลูอออไรด์สูง ช่วยทำให้ฟันไม่ผุ กระดูกแข็งแรงเผือกยังช่วยบำรุงไต บำรุงลำใส้และแก้อาการท้องเสีย(ที่มา: http://www.pickwall.com/?p=42) 
วิธีการทำยาหม่องเผือกโดยนำเผือก แช่น้ำร้อนก่อน 15 นาที แล้วนำไปต้ม จะทำให้สุกเร็วขึ้นถ้าเป็นเผือกหรือมันเก่า เวลาต้มให้เติมน้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะจะทำให้เผือกหรือมันสุกมีรสดีขึ้น แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วลงไปต้มในน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว แล้วกลั่นเอาน้ำออกมาจากกาก(ล่วนที่1) ขั้นต่อไป ก็นำหม้อมาใส่วาสลิน และขี้ผึ้งลงไป วางหม้ออีกใบที่ใหญ่กว่าทำตุ๋นด้วยความร้อนจากหม้อใบใหญ่กว่าที่ใสน้ำ ใช้ไฟกลางๆกวนให้เข้ากัน หลังจากวาสลินและขี้ผึ้งละลายหมดแล้ว(ส่วนที่2) และหลังจากนั้นนำส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สองมารวมกันแล้วคนให้เข้ากัน พอเข้ากันก็นำมาใส่ตลับที่เตรียมไว้หลังจากใส่แล้วก็รอให้เย็นแล้วปิดฝาได้(ที่มา: http://www.gotoknow.org/posts/80206 และ http://www.yesspathailand.com/)

วัตถุประสงค์
การศึกษาเผือกครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
1.เพื่อศึกษาและพัฒนาการนำเผือกและส่วนผสมที่ใช้ในการทำยาหม่องสมุนไพร
2.เพื่อทดลองประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ขอบเขตของการศึกษา
ด้านระยะเวลา
19 พฤษภาคม – 1 ตุลาคม 2555 รวมระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและทดลองทั้งหมด 135 วัน
ด้านเนื้อหา
ในการศึกษาทดลองโครงงานนี้มุ่งศึกษาการทำยาหม่องสมุนไพรที่ใช้วิธีการและส่วนผสมของเผือกเพื่อทดลองประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย
ผลที่คาดหวังจะได้รับ
1. ทำให้รู้ถึงวิธีการทำยาหม่องสมุนไพรและส่วนผสมของเผือกเพื่อทดลองประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อยเพื่อนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
2. เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าและทดลองขั้นตอนในการทำยาหม่องสมุนไพรที่ทำโดยเผือกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

บทที่ 2


บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาทดลองยาหม่องที่ทำจากเผือกมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย และบรรเทาอาการจากอาการปวดเมื่อย เส้นเอ็น กระดูกผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังมีหัวข้อต่อไปนี้
1 ลักษณะของเผือก
2 ความสำคัญของเผือก
3 วิธีการทำยาหม่องสมุนไพร
1. ลักษณะของผักเสี้ยน
                     ประวัติความเป็นมาและแหล่งปลูก
เผือกมีชื่อภาษาอังกฤษว่าทาโร (Taro) นอกจากชื่อนี้ยังมีชื่ออื่นอีก คือ โอลด์โคโคแยม (Old Cocoyam) แดเชนหรือ แดชีน (Dashenหรือ Dasheen) และ เอดโด (Eddo หรือ Eddoe) เผือกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียและแถบมหาสมุทรแปซิฟิก เผือกเป็นอาหารหลักของชาวนิวกีนี เดิมทีเดียวเผือกเป็นพืชป่าต่อมามนุษย์จึงนำเอาเผือกมาปลูก เพื่อใช้รับประทานคนไทยรู้จักรับประทานเผือกมานานแล้ว
                   ลักษณะทั่วไป เผือกเป็นพืชที่มีอายุมากกว่า ๑ปีขึ้นไป (perennial) หัวเผือกเป็นลำต้นที่เกิดอยู่ใต้ดิน ประกอบด้วยหัวใหญ่ ๑ หัวและมีหัวเล็กๆ แตกออก รอบๆ ขนาดรูปร่างของหัว สีของเนื้อเผือกมีความแตกต่างกันออกไปตามพันธุ์ หัวใหญ่มีน้ำหนักตั้งแต่หนักกว่า ๔๕๐ กรัมถึงหนักกว่า ๓.๕ กิโลกรัม หัวเล็กหนักตั้งแต่น้อยกว่า ๒๘ กรัม ถึง ๔๕๐ กรัมเนื้อเผือกมีสีต่างกันตั้งแต่สีขาว เหลือง ส้ม จนถึง แดง หรือม่วง
                    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เผือกมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โคโลคาเซีย เอสคูเบนตา (แอล) ชอตต์ (Colocaciaesculenta (L) Schott) อยู่ในตระกูลอะราเซีย (Aracea) ที่ทราบ มีเผือกอยู่กว่า ๒๐๐ พันธุ์ ในเมืองไทยนั้นมีหลายพันธุ์เช่นกัน พืชอีกชนิดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เผือก หนังสือพรรณไม้แห่งประเทศไทย เล่ม ๑ ของกรมป่าไม้เรียกว่า ลกกะเซีย (lok-ka-sia) และมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น ยัวเทีย (yautia) และแทนเนีย (tannia) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แซนโทโซมา ซากิตทิโฟลเลียม (Xanthosomasagittifollium) ลกกะเซีย เป็นเผือกหัวเล็ก เนื่องมาจากหัวที่เป็นแกนใหญ่ไม่สะสมแป้ง จึงใช้เฉพาะส่วนหัวแขนงเท่านั้น เผือกเป็นพืชมีอายุอยู่ได้หลายฤดู ลำต้นใต้ดินเจริญเติบโตกลายเป็นหัว และมีหัวเล็กๆ ล้อมรอบ หัวมีขนาดและรูปร่างต่างกันออกไป ปกติ ต้นสูง ๐.๔-๒ เมตร ใบใหญ่เป็นรูปหัวใจ มีขนาด สีต่างๆ กัน ใบเกิดจากใต้ดิน ดอกปกติประกอบ ด้วย ๒-๕ ช่อดอก อยู่ในก้านใบ ช่อดอกมีก้าน ยาว ๑๕-๓๐ ซม. ดอกบานทยอยกันเรื่อยๆ ดอกตัวเมียมักจะไม่มี ดอกตัวผู้หนึ่งดอกมีก้านเกสรตัวผู้ ๒-๓ อัน ผลมีสีเขียว เปลือกบาง ไม่ค่อยมีเมล็ด เท่าที่ทราบเผือกที่ปลูกในฮาวาย นิวกินี และโดมินิกัน สามารถติดเมล็ดได้
ชนิด
เดิมทีเดียวนักพฤกษศาสตร์ได้แบ่งเผือกออกเป็น๒ ชนิด คือ ซี แอนทิโควรุม (C.antiquorum)กับ ซี เอสคูเลนตา (C.esculenta)ต่อมาเมื่อได้ตรวจลักษณะอย่างละเอียดแล้วเขาจึงจัดเผือก ๒ ชนิดเข้าไว้เป็นชนิดเดียวกัน คือ ซี เอสคูเลนตาคงแตกต่างกันที่พันธุ์เท่านั้น ขณะนี้เผือกจึงแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
ประเภทเอดโด (eddoe)
ประเภทนี้ได้แก่ ซี เอสคูเลนตา วาร์ แอนทิโควรุม (C.escuenta var. antiquorum)หรือ ซี เอสคูเลนตา วาร์ โกลบุลิเฟอรา (C.esculenta var. globulifera)ได้แก่ เผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่และมีหัวเล็กกว่าล้อมรอบหลายหัว ทุกหัวรับประทานได้ และใช้ทำพันธุ์ได้
2. ประเภทแดชีน (dasheen)
ประเภทนี้ ได้แก่ ซี เอสคูลนตา วาร์ เอสคูเลนตา (C.esculentavar. esculenta)ได้แก่เผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และมีหัวขนาดเล็กๆ ล้อมรอบ หัวใหญ่ใช้รับประทาน ส่วน
(ที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=5&chap=5&page=t5-5-infodetail04.html)

2.ความสำคัญของเผือก
เผือกเป็นอาหารที่บำรุงสุขภาพและให้พลังงานไปพร้อม ๆ กันมีรสหวานอมเผ็ดนิดหน่อยเหมาะกับเด็กและผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาด้านการย่อยอาหารเผือกมีแคลอรีสูงไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักส่วนที่ใช้ในการรับประทานคือส่วน หัว ของเผือกที่อยู่ใต้ดิน เผือกจะมีสารอาหารคือสารอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต โปรตีน โพแทสเซียม วิตามินบี 1 วิตามินซีและที่สำคัญมีธาตุเหล็กสูงและยังมีฟลูอออไรด์สูง ช่วยทำให้ฟันไม่ผุ กระดูกแข็งแรงเผือกยังช่วยบำรุงไต บำรุงลำไส้และแก้อาการท้องเสีย
(ที่มา:http://healthdeena.blogspot.com/2010/01/blog-post.html)

3. วิธีการทำยาหม่องสมุนไพร
นำใบเสลดพังพอนตัวผู้และตัวเมียมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงทอดในน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว โดยใช้ไฟอ่อน ๆ จนหมดฟองและน้ำมันกลายเป็นสีเขียวเข็ม ยกลงกรอกเอากากออกให้หมด จะได้น้ำมันเสลดพังพอนประมาณ 100 กรัม (ส่วนผสม 1)
นำหม้อแสตนเลสสตีล ใส่วาสลินและขี้ผึ้งลงไป วางหม้อวาสลินลงในหม้ออีกใบที่ใหญ่กว่า ทำการตุ๋นด้วยความร้อนจากหม้อใบใหญ่ที่ใส่น้ำ ใช้ไฟกลาง ๆ กวนให้เข้ากัน ห้ามใช้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้ หลังจากวาสลินและขี้ผึ้งละลายหมดแล้ว นำพิมเสน เมนทอลและการบูร ผสมรวมกัน คนให้ละลายจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเติมน้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันอบเชย น้ำมันกานพลูและน้ำมันเขียว คนให้เข้ากันดีอีกครั้ง (ส่วนผสม 2)
นำส่วนผสม 1 และ 2 ผสมรวมกัน คนให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง
นำส่วนผสมที่ได้บรรจุขณะเป็นน้ำ ใส่ขวดที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนปิดฝา พร้อมใช้หรือจำหน่าย
(ที่มา:http://www.yesspathailand.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%
E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B2/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%99.html)

บทที่ 3


บทที่ 3  การทดลอง

การทำยาหม่องสมุนไพรจากเผือกในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาการนำเผือกมาทำเป็นยาหม่องสมุนไพรและเพื่อทดลองประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย คณะผู้รายงานกำหนดขั้นตอนไว้ดังนี้
3.1  อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
      1. ห้องสมุด
      2. คอมพิวเตอร์
      3. ไอแพ็ค
3.2 วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้
เผือก  2  หัว
น้ำมันมะกอก   2  ช้อนโต๊ะ
ขี้ผึ้งทาปาก   2  กระปุก
วาสลิน  3  ช้อนโต๊ะ
3.3  วิธีการทำยาหม่องสมุนไพร
      1.   นำเผือกมาปลอกเปลือกให้สะอาด
      2.   นำเผือกที่ปลอกเปลือกแล้วมาต้มน้ำให้สุก
      3.   หั่นเผือกให้ละเอียดแล้วนำมาคลุกเคล้ากับน้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ(ส่วนที่1)
      4.   นำหม้อใบเล็กมาใส่วาสลินและขี้ผึ้งลงไป และนำไปวางบนหม้อใบใหญ่ที่ใส่น้ำไว้ข้างใน
      5.   พอเดือดก็นำส่วนผสมที่1มาใส่ลงไปแล้วกวนให้เข้ากัน
      6.   พอเดือดแล้วนำมากลองเอากากออก
      7.    เสร็จแล้วนำมาใส่ภาชนะที่เตรียมแล้วทิ้งไว้ให้เย็น

  3.4   วิธีการทดลอง
      1.  เรานำสมุนไพรที่เตรียมไว้พร้อมกับเอกสารแสดงความรู้มาให้ชาวบ้านทดลองใช้
      2.  ผ่านไป 1 สัปดาห์เราก็กลับไปที่หมู่บ้านอีกครั้งแล้วนำแบบทดสอบไปให้ชาวบ้านประเมิน
      3.  แล้วนำมาคำนวณคิดเป็นเปอร์เซ็นต์

บทที่ 4


บทที่ 4 ผลการทดลอง

การทำยาหม่องสมุนไพรจากเผือกในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาการนำเผือกมาทำเป็นยาหม่องสมุนไพรและเพื่อทดลองประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย คณะผู้รายงานกำหนดขั้นตอนไว้ดังนี้
ผลการศึกษาและพัฒนาการนำเผือกมาทำเป็นยาหม่องสมุนไพรมีผลการศึกษาดังนี้
ได้รู้จักที่มาของเผือก
 ได้รู้จักประโยชน์ของเผือก
 ได้รู้จักชนิดของเผือก
 ได้รู้วิธีการทำยาหม่อง
ผลการทดลองประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อยมีผลการทดลองดังตารางต่อไปนี้

สิ่งที่นำมาสำรวจ ผลการสำรวจคิดเป็นเปอร์เซ็นต์  
  ดีมาก ดี พอใช้ น้อย น้อยมาก  
-ความสามารถในการบรรเทาอาการกัดของยุง 36 54 10 0 0  
-ความสามารถในการบรรเทาการกัดของมด 18 72 10 0 0  
-ความสามารถในการบรรเทาอาการปวดเมื่อย 9 45 36 10 0  
-กลิ่นของผลิตภัณฑ์ 27 27 36 10 0

จากตารางที่ 1 มีผลการทดลองดังนี้เมื่อนำมาให้ชาวบ้านทดลองใช้ภายใน 7 วันพบว่ายาหม่องเผือกที่เราทำสามารถบรรเทาอาการจากยุงกัด ,มดกัด ,อาการปวดเมื่อยมีประสิทธิภาพดี ส่วนกลิ่นของผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพพอใช้

บทที่ 5


บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง

         การทำยาหม่องสมุนไพรจากเผือกในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาการนำเผือกมาทำเป็นยาหม่องสมุนไพรและเพื่อทดลองประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อยสามารถสรุปผลได้ดังนี้
สรุปผลการศึกษา
ผลการศึกษาและพัฒนาการนำเผือกมาทำเป็นยาหม่องสมุนไพร  สรุปได้ว่า  การทำยาหม่องสมุนไพรเป็นสิ่งที่ไม่ยากเราสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ประจำตำบลได้
ผลการทดลองประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย  สรุปได้ว่า  สามารถบรรเทาอาการจากมดกัดได้ดีที่สุด รองลงมาก็สามารถบรรเทาอาการจากยุงกัดและก็อาการปวดเมื่อยได้อีกด้วย