วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 1


บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ

เผือกเผือกเป็นพืชมีอายุอยู่ได้หลายฤดูลำต้นใต้ดินเจริญเติบโตกลายเป็นหัว และมีหัวเล็กๆ ล้อมรอบหัวมีขนาดและรูปร่างต่างกันออกไป ปกติ ต้นสูง ๐.๔-๒ เมตร ใบใหญ่เป็นรูปหัวใจ มีขนาดสีต่างๆ กัน ประโยชน์ : หัวเผือกทานเพื่อบำรุงร่างกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคเรื้อนกวาง เผือกก็สามารถช่วยได้ยังและช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย เส้นเอ็น กระดูก และทาแก้แมลงกัด ต่อยใบและยอดเผือกใช้เป็นผักได้มีวิตามินเอและวิตามินซีสูงส่วนใหญ่ใช้เป็นอาหารที่สำคัญของประชากรในหลายประเทศและใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะลำไส้(ที่มา:http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/ book.php?book=5&chap=5&page=t5-5-infodetail04.htmlและ  http://healthdeena.blogspot.com/2010/01/blog-post.html)
เผือกเป็นอาหารที่บำรุงสุขภาพและให้พลังงานไปพร้อม ๆ กันมีรสหวานอมเผ็ดนิดหน่อยเหมาะกับเด็กและผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาด้านการย่อยอาหารเผือกมีแคลอรีสูงไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักส่วนที่ใช้ในการรับประทานคือส่วน หัว ของเผือกที่อยู่ใต้ดิน เผือกจะมีสารอาหารคือสารอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต โปรตีน โพแทสเซียม วิตามินบี 1 วิตามินซีและที่สำคัญมีธาตุเหล็กสูงและยังมีฟลูอออไรด์สูง ช่วยทำให้ฟันไม่ผุ กระดูกแข็งแรงเผือกยังช่วยบำรุงไต บำรุงลำใส้และแก้อาการท้องเสีย(ที่มา: http://www.pickwall.com/?p=42) 
วิธีการทำยาหม่องเผือกโดยนำเผือก แช่น้ำร้อนก่อน 15 นาที แล้วนำไปต้ม จะทำให้สุกเร็วขึ้นถ้าเป็นเผือกหรือมันเก่า เวลาต้มให้เติมน้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะจะทำให้เผือกหรือมันสุกมีรสดีขึ้น แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วลงไปต้มในน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว แล้วกลั่นเอาน้ำออกมาจากกาก(ล่วนที่1) ขั้นต่อไป ก็นำหม้อมาใส่วาสลิน และขี้ผึ้งลงไป วางหม้ออีกใบที่ใหญ่กว่าทำตุ๋นด้วยความร้อนจากหม้อใบใหญ่กว่าที่ใสน้ำ ใช้ไฟกลางๆกวนให้เข้ากัน หลังจากวาสลินและขี้ผึ้งละลายหมดแล้ว(ส่วนที่2) และหลังจากนั้นนำส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สองมารวมกันแล้วคนให้เข้ากัน พอเข้ากันก็นำมาใส่ตลับที่เตรียมไว้หลังจากใส่แล้วก็รอให้เย็นแล้วปิดฝาได้(ที่มา: http://www.gotoknow.org/posts/80206 และ http://www.yesspathailand.com/)

วัตถุประสงค์
การศึกษาเผือกครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
1.เพื่อศึกษาและพัฒนาการนำเผือกและส่วนผสมที่ใช้ในการทำยาหม่องสมุนไพร
2.เพื่อทดลองประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ขอบเขตของการศึกษา
ด้านระยะเวลา
19 พฤษภาคม – 1 ตุลาคม 2555 รวมระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและทดลองทั้งหมด 135 วัน
ด้านเนื้อหา
ในการศึกษาทดลองโครงงานนี้มุ่งศึกษาการทำยาหม่องสมุนไพรที่ใช้วิธีการและส่วนผสมของเผือกเพื่อทดลองประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย
ผลที่คาดหวังจะได้รับ
1. ทำให้รู้ถึงวิธีการทำยาหม่องสมุนไพรและส่วนผสมของเผือกเพื่อทดลองประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อยเพื่อนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
2. เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าและทดลองขั้นตอนในการทำยาหม่องสมุนไพรที่ทำโดยเผือกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น